วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

FRASA KERJA

                                                   

                                                       FRASA KERJA (กริยาวลี)


กริยาวลี คือวลีที่อธิบายถึงกริยาหรือการกระทำที่อย่างน้อยจะต้องมีหนึ่งกลุ่มคำที่อยู่กับคำกริยาที่ไม่มีกรรม (kata kerja tak transitif)  กริยาวลีสามารถอยู่กับกลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำกริยาที่ไม่มีกรรม(kata kerja tak transitif) และคำกริยาที่มีกรรม  กริยาวลีทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบในภาคแสดงของประโยค

การสร้างกริยาวลี

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดที่เชื่อมกับคำกริยา คือ
1.กริยาวลีที่ไม่มีกรรม (frasa kerja yang tidak mempunyai objek)
2.กริยาวลีที่มีกรรม  (frasa kerja yang  mempunyai objek)

1.กริยาวลีที่ไม่มีกรรม (frasa kerja yang tidak mempunyai objek)
      คือกริยาวลีที่ต้องมีคำกริยาที่ไม่มีกรรมและไม่ต้องถูกรับโดยผู้รับหรือกรรมที่อยู่กับกริยาวลี กริยาวลีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
            1.1คำกริยาที่ไม่มีกรรมรองรับไม่มีส่วนเติมเต็ม (kata kerja tak transitif tanpa pelengkap)
            1.2คำกริยาที่ไม่มีกรรมรองรับที่มีส่วนเติมเต็ม  (kata kerja tak transitif  pelengkap)
            1.3คำกริยาที่ไม่มีกรรมที่มีคำนามเป็นส่วนขยาย  (kata kerja tak transitif dengan kata nama sebagai pelengkap)

1.คำกริยาที่ไม่มีกรรมรองรับไม่มีส่วนเติมเต็ม (kata kerja tak transitif tanpa pelengkap)
กริยาวลีที่เป็นคำกริยาที่ไม่มีกรรมชนิดนี้ไม่ต้องมีส่วนเติมเต็ม มันสามารถประกอบกับกลุ่มคำหนึ่งกลุ่มได้ มีความหมายที่สมบูรณ์แล้ว
ตัวอย่าง
Suhaimi sedang berbaring.
ซูฮัยมีกำลังนอนอยู่
Ranting pokok besar itu patah.
กิ่งไม้ของต้นไมใหญ่นั้นหัก

2.คำกริยาที่ไม่มีกรรมรองรับที่มีส่วนเติมเต็ม  (kata kerja tak transitif  pelengkap)
        เป็นกริยาวลีที่คำกริยาไม่มีกรรม แต่จะต้องมีส่วนเติมเต็มเพื่อเติมเต็มความหมาย ที่จริงมันไม่ใช่กรรมเพราะประโยคที่เกิดขึ้นไม่สามารถเป็นผู้ถูกกระทำได้ ส่วนเติมเต็มสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
            2.1 คำคุณศัพท์ที่เป็นส่วนเติมเต็ม  (Kata adjektif sebagai pelengkap)
            2.2 คำนามที่เป็นส่วนเติมเต็ม        (Kata nama sebagai pelengkap)
            2.3 บุพบทวลีที่เป็นส่วนเติมเต็ม    (Frasa sendi nama sebagai pelangkap)

2.1 คำคุณศัพท์ที่เป็นส่วนเติมเต็ม  (Kata adjektif sebagai pelengkap)

ตัวอย่าง          

Keadaan ekonomi Negara beansur putih.
สภาพเศรษฐกิจของประเทศค่อยๆฟื้นตัว
Lukanya bertambah parah.
บาดแผลนั้นยิ่งดูแย่ลง
Kita tidak boleh berbuat jahat.
พวกเราไม่สามารถกระทำความชั่ว

2.2 คำนามที่เป็นส่วนเติมเต็ม        (Kata nama sebagai pelengkap)
            เป็นคำนามที่มีส่วนเติมเต็มเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มคำ 2 กลุ่มเป็นคำกริยาที่ไม่มีกรรม
            2.2.1 ส่วนที่ต้องมี imbuhan apitan “beR-…-an”

ตัวอย่าง

Pada waktu malam Hatyai bermandikan cahaya.
ในเวลากลางคืนหาดใหญ่เต็มไปด้วยแสงสี
Rumah mereka beratapkan langit.
บ้านของเขามีหลังคาที่เป็นเพดาน
Anak-anak ayam itu beribukan itik.
ลูกไก่เหล่านั้นมีแม่เป็นเป็ด
           
2.2.2 คำกริยาที่ไม่มีกรรม “menjadi” และ “ada”

ตัวอย่าง

Ibunya menjadi guru.
แม่ของเขาเป็นครู
Kakak ada kereta.
พี่สาวมีรถยนต์

2.3 บุพบทวลีที่เป็นส่วนเติมเต็ม    (Frasa sendi nama sebagai pelangkap)
            วลีนี้จะอยู่หลังคำกริยาที่ไม่มีกรรมที่อธิบายถึงสถานที่

            ตัวอย่าง

Kami bermalam di Chiang Mai.
ฉันค้างคืนที่เชียงใหม่
Syarikat AIS beribu pejabat di Bangkok.
บริษัท AIS มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพ
Pegawai muda itu berasaldari Pattani.
เจ้าหน้าที่หนุ่มคนนั้นมาจากจังหวัดปัตตานี


3. คำกริยาที่ไม่มีกรรมที่มีคำนามเป็นส่วนขยาย
(kata kerja tak transitif dengan kata nama sebagai pelengkap)

            คำนามนี้ไม่ได้เป็นกรรมหรือผู้รองรับเพราะประโยคที่เกิดขึ้นไม่สามารถเป็นผู้กระทำได้ มันไม่ใช่ส่วนเติมเต็มเพราะประโยคและความหมายของประโยคจะสมบูรณ์ถ้าถูกตัดทิ้ง

ตัวอย่าง

Pak Hassan berkebun teh.
ปะฮาซันมีสวนชา
Lelaki Melayu itu berbaju batik.
ผู้ชายมลายูนั้นสวมใส่เสื้อบาติก
Pelajar-pelajar sedang berjalan kaki.
นักเรียนกำลังเดินเท้า

ประโยคและความหมายของประโยคจะสมบูรณ์ถ้าคำนามที่เป็นส่วนขยายความถูกตัดทิ้ง

Pak Hassan berkebun.
ปะฮาซันมีสวน
Lelaki Melayu itu berbaju.
ผู้ชายมลายูนั้นสวมเสื้อ
Pelajar-pelajar sedang berjalan.
นักเรียนกำลังเดิน

กริยาวลีที่มีกรรม (Frasa Kerja Yang Mempunyai Objek)

ในกริยาวลีนี้ คำกริยาที่มีกรรมเป็นแก่นหลักและนามวลีเป็นกรรมหรือผู้รองรับ เป็นประโยคที่มีรูปแบบที่สามารถเป็นผู้ถูกกระทำได้

ตัวอย่าง

         a. Kerajaan meminta rakyat supaya berjimat cermat.
รัฐบาลขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดและรอบคอบ
             b.Rakyat diminta oleh kerajaan supaya berjimat cermat.
ประชาชนถูกสั่งขอโดยรัฐบาลให้ช่วยกัยประหยัดและรอบคอบ
           a.Kami makan sate arnab di tepi kolam.
ฉันกินสเต็กกระต่ายที่ริมสระ
              b.Sate arnab kami makan di tepi kolam.
สะเต๊ะกระต่ายฉันกินมันที่ริมสระ

กริยาวลีที่มีกรรมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.กริยาวลีที่มีกรรมหนึ่งกรรม (Frasa kerja dengan satu objek)
2.กริยาวลีที่มีกรรมสองกรรม (Frasa kerja dengan dua objek)

1.กริยาวลีที่มีกรรมหนึ่งกรรม (Frasa kerja dengan satu objek)

ตัวอย่าง

Kami melawat Zoo Songkhla.
ฉันเที่ยวชมสวนสัตว์สงขลา
Perompok-perompak itu telah membunuh mangsanya.
โจรสลัดนั้นกำลังฆ่าเหยื่อผู้เคราะห์
Mereka sedang menghias rumah.
เขากำลังจัดตกแต่งบ้าน
     
มีคำกริยาที่มีคำรากศัพท์อยู่กับกลุ่มคำคุณศัพท์ที่บ่งบอกถึงความรู้สึกที่สามารถตัดกรรมนั้นทิ้งจะมีคำสรรพนามบุรุษที่หนึ่งแทน  โดยปกติจะนำหน้ากับคำบอกหน้าที่(คำเสริมเติมหน้า)

ตัวอย่าง

Peristiwa itu amat memalukan (saya/kami/kita)
เหตุการณ์นั้นทำให้ฉันรู้สึกอับอายมาก
Kemalangan yang berlaku kelmarin sungguh mengerikan(saya/kami/kita)
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวานทำให้ฉันรู้สึกหวาดกลัว
Berita kematian tersebut sangat menyedihkan (saya/kami/kita)
ข่าวการเสียชีวิตที่กล่าวนั้นทำให้ฉันรู้สึกเจ็บปวด

2.กริยาวลีที่มีกรรมสองกรรม (Frasa kerja dengan dua objek)
กริยาวลีนี้มีกรรมทางตรงและกรรมทางอ้อม  กรรมทางตรงคือกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากคำกริยาที่มีกรรมที่เป็นผู้รองรับโดยตรง ในขณะที่กรรมทางอ้อมคือกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากกรรมทางตรงที่เป็นผู้รองรับโดยวิธีทางอ้อม

      ตัวอย่าง

Faisol membacakan datuknya surat itu.
ไฟซอลอ่านหนังสือเล่มนั้นให้โต๊ะเขาฟัง
Ainee menghadiahi Fairuz sebatang pen.
อัยนีมอบรางวัลปากกาหนึ่งแท่งให้แก่ไฟรุส
Sufian membelikan isterinya sebuah motosikai.
ซูเฟียนได้ซื้อรถมอเตอร์ไซด์หนึ่งคันให้ภรรยาของเขา
     
กรรมทางตรงจะเป็นประธานหรือองค์ประกอบที่ถูกอธิบาย หากประโยคที่กล่าวนั้นเป็นประโยคที่ถูกกระทำ แต่กรรมทางอ้อมที่ได้เป็นประธานของประโยคจะไม่มีไวยากรณ์

ตัวอย่าง

a.Datuknya dibacakan surat itu oleh Faisol.
betul
คุณตาเขาได้อ่านหนังสือนั้นโดยไฟซอล
   Surat itu dibacakan datuknya oleh Faisol.
salah
หนังสือนั้นได้อ่านคุณตาเขาโดยไฟซอล
b.Fairuz dihadiahi sebatang pen oleh Ainee.
betul
ไฟรุสได้รับรางวัลปากกาหนึ่งแท่งโดยอัยนี
   Sebatang pen dihadiahi Fairuz oleh Ainee
salah
ปากกาหนึ่งแท่งได้รับรางวัลไฟรุสโดยอัยนี
c.Isterinya dibelikan sebuah motosikal oleh Sufian.
betul
ภรรยาเขาได้ซื้อมอเตอร์ไซด์หนึ่งคันโดยซูเฟียน
   Sebuah motosikal dibelikan isterinya oleh Sufian.
salah
มอเตอร์ไซด์หนึ่งคันได้ซื้อภรรยาเขาโดยซูเฟียน

อาจมีความสับสนกับประโยคนี้

Faisol membaca surat itu untuk datuknya.
ไฟซอลอ่านหนังสือเล่มนั้นก็เพื่อคุณตาของเขา
Ainee menghadiahkan sebatang pen kepada Fairuz.
อัยนีมอบรางวัลปากกาหนึ่งแท่งให้แก่ไฟรุส
Sufian membeli sebuah motosikal untuk isterinya.
ซูเฟียนได้ซื้อมอเตอร์ไซด์หนึ่งคันเพื่อภรรยาของเขา


กริยาวลีที่มีคำช่วย (Frasa Kerja Dengan Kata Bantu)

      กริยาวลีสามารถเป็นองค์ประกอบคำช่วยที่บอกถึงเวลาหรือคำช่วยบอกความรู้สึก
เช่น คำช่วยบอกเวลา คือ sudah, telah, sedang, masih, belum และ akan (แล้ว/กำลัง/จะ)
       คำช่วยที่บอกความรู้สึก คือ hendak, ingin, mahu, mesti, boleh และ harus. (ต้องการ/ได้/ควร)

ตัวอย่าง

Anak lelaki saya sudah boleh membaca .
ลูกชายของฉันสามารถอ่านหนังสือได้แล้ว
Mereka harus belum makan lagi.
เธอควรกินอีกนะ

กริยาวลีที่มีประโยคเสริม (Frasa kerja dengan ayat komplemen)
      เป็นวลีที่อยู่ร่วมกับประโยคเสริมในรูปแบบคำผสม

ตัวอย่าง

1.Kata kerja Transitif + Ayat Komplemen
1.คำกริยาที่มีกรรม + ประโยคเสริม
a.Pengetua mengumumkan bahawa sekolah akan bercuti mulai minggu hadapan.
ผู้อำนวยการโรงเรียนประกาศหยุดเรียนตั้งแต่สัปดาห์หน้า
b.Mereka menyatakan bahawa mereka akan berpiket besok.
พวกเขาได้อธิบายเกี่ยวกับการเข้าประชุมของพวกเขาในวันพรุ่งนี้
2. Kata kerja Tak Transitif + Ayat Komplemen
2.คำกริยาที่ไม่มีกรรม + ประโยคเสริม
a.Pihak polis tahu bahawa pembunuhan itu ada kaitan dengan peristiwa semalam.
ฝ่ายตำรวจทราบเกี่ยวกับคดีการฆาตรกรรมนั้นมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์เมื่อวาน
b.Pekerja-pekerja itu berpiket untuk menuntut kenaikan gaji.
พนักงานเหล่านั้นล้อมรั้วเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือน

กริยาวลีและองค์ประกอบข้อมูล
       กริยาวลีสามารถอธิบายองค์ประกอบข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ สถานที่ หรือ ขอบเขต, เวลา, วิธีการ, หน้าที่หรือความถี่, เครื่องมือ, การอธิบาย, เรื่องราว และการให้ข้อมูลต่างๆ

      ตัวอย่าง

Pemeran tersebut diadakan di tapak ekspo. (keterangan tempat/arah)
นิทรรศการที่กล่าวนั้นจะจัดขึ้นที่tapak ekspo
(ให้ข้อมูลสถานที่)
Keluarga Pak Abu tinggal di sini sejak enam tahun yang lalu. (keterangan waktu)
ครอบครัวปะอาบูอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่หกปีก่อน
(ให้ข้อมูลที่บอกเวลา)
Budak itu bercakap dengan lemah-lembut.  (keterangan cara)
เด็กคนนั้นพูดจาอ่อนหวาน
(ให้ข้อมูลที่เป็นวิธีการ)
Kerajaan membina asrama desa untuk menyediakan kemudahan kepada para pelajar.
(keterangan tujuan)
รัฐบาลได้สร้างหอพักเพื่อมอบความสะดวกสบายให้แก่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
(ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่)
Nurma datang ke university dengan bas. (keterangan alat)
นูรมามามหาวิทยาลัยด้วยรถบาส
(ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือ)
Encik Islyas melancong ke Singapura dengan keluarganya. (keterangan penyertaan)
คุณอิลียัสไปเที่ยวสิงคโปร์กับครอบครัวของเขา
(ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการอธิบาย)
Mereka masih berbincang mengenai harga minyak. (keterang hal)
พวกเขายังคงเจรจาหารือเกี่ยวกับราคาน้ำมัน
(ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ)
Mak Minah berlagak seperti orang kaya. (keterangan bagai)
มะมีนะห์ทำเหมือนอย่างเป็นคนรวย
(ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอื่นๆ)



                               สืบค้นข้อมูลมาจาก  : หนังสือเรียนวิชาไวยากรณ์ 2
                                ซึ่งเป็นตำราหนังสือของหลักสูตรภาษามลายู สาขาวิชาภาษาตะวันออก
                                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยทักษิน ปี พ.ศ 2558
                                โดยอาจารย์มูหำหมัด สาแลบิง
                                       เมื่อวันที่  28/09/2560






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น